วันเสาร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2559

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
พระรัตนตรัย คือแก้วอันประเสริฐ (ของชาวพุทธ) 3 ประการ ได้แก่ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์พระพุทธ     คือ ผู้ตรัสรู้ชอบด้วยพระองค์เองแล้วสอนให้ผู้อื่นรู้ตามพระธรรม     คือ  คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าพระสงฆ์     คือ ผู้ปฏิบัติชอบตามคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าแล้วสอนผู้อื่นให้ประพฤติปฏิบัติตาม
ความสำคัญของพระรัตนตรัย
      พระรัตนตรัยนอกจากจะเป็นแก้วอันประเสริฐของชาวพุทธแล้ว พระรัตนตรัยยังเป็นที่พึ่งที่ระลึกที่ดีที่สุดของชาวพุทธ ในชีวิตประจำวันของชาวพุทธจะเกี่ยวข้องกับพระรัตนตรัยอยู่เสมอ เช่น ตื่นนอนตอนเช้าสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย ก่อนไปทำงานนิยมไหว้พระก่อนออกจากบ้านเมื่อไปถึงที่ทำงานนิยมไหว้พระประจำสถานที่ทำงาน และไหว้พระรัตนตรัย ก่อนนอนทุกคืน นักเรียนก็เช่นเดียวกัน ก่อนเข้าเรียนหลังเคารพธงชาตินักเรียนจะต้องสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยก่อนเลิกเรียนก็สวดมนต์บูชาพระรัตนตรัย ก่อนนอนก็สวดมนต์ ดังนั้นพระรัตนตรัยจึงมีความสำคัญต่อชาวพุทธอย่างยิ่ง
โอวาท 3  หมายถึง คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นคำสั่งสอนที่พระองค์ตรัสแก่พระภิกษุสงฆ์จำนวน 1,250 รูป ซึ่งมาประชุมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ เวฬุวันมหาวิหาร วันนั้น ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 เรียกว่า วันมาฆบูชา
โอวาท 3 ได้แก่
 1. ไม่ทำชั่ว
 2. ทำความดี
 3. ทำจิตให้บริสุทธิ์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มะอึก ชุมชนนิมนต์ยิ้ม
หลักธรรมที่ส่งเสริมการปฏิบัติตามโอวาท 3
                ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามโอวาท 3 ควรประพฤติตามหลักธรรมต่อไปนี้ เพราะผู้ใดปฏิบัติได้ ผู้นั้น
 เชื่อว่าปฏิบัติตามโอวาท 3
  เบญจศีล หรือ ศีล 5 ได้แก่
  1. ไม่ทำร้าย ไม่เบียดเบียนสัตว์
  2. ไม่ลักขโมย
 3. ไม่แย่งชิงของรักของผู้อื่น
  4. ไม่พูดปด
 5. ไม่ดื่มสุราหรือสิ่งเสพติดให้โทษ

เบญจธรรม คือ ธรรม 5 ประการ ได้แก่
 1. ความเมตตากรุณา
   2. การดำรงชีพสุจริต
 3. ความสำรวมในกาม
 4. มีคำสัตย์
  5. ความมีสติสัมปชัญญะ

สังคหวัตถุ 4 ได้แก่
1. ทาน การแบ่งปันสิ่งของของตนแก่ผู้อื่น
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ มะอึก ชุมชนนิมนต์ยิ้ม 2. ปิยวาจา เจรจาที่อ่อนหวาน
 3. อัตถจริยา ประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น
 4. สมานัตตตา ประพฤติตนสม่ำเสมอ ไม่ถือตัว
(คุณธรรมทั้ง 4 ประการนี้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวใจผู้อื่นที่เราคบค้าสมาคมด้วย)

อัตถะ 3 หมายถึง ประโยชน์ 3 ประการ ได้แก่
 1. อัตตัตถะ ประโยชน์ตน
 2. ประโยชน์ผู้อื่น
  3. อุภยัตถะ ประโยชน์ทั้งสองฝ่ายกตัญญูกตเวทีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม


อ้างอิง
http://innovation.kpru.ac.th/web17/551121703/innovation/index.php/3
http://www.n-content.com/
http://www.line2me.in.th/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น